ประกันชีวิตมีกี่ประเภท&เหมาะกับใครบ้าง

ประกันชีวิต เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตควรจะมี จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของผู้นั้น แต่จะไม่มีเลย ไม่ควร เพราะทุกชีวิตมีค่า มีความเสี่ยงในความเป็นไปของชีวิตตลอดทุกช่วงเวลา ดังนั้นประกันชีวิตจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับบุคคลภายในครอบครัว

ประกันชีวิต หลักๆ มีอยู่๒ประเภท คือ

1.ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน

2.ประกันชีวิตควบการลงทุน

ประกันชีวิตแบบพื้นฐานมี 4 แบบ

1.ประกันชีวิตชั่วระยะเวลา

ประกันชีวิตประเภทนี้จะคุ้มครองชีวิตผู้เอาประกันชั่วระยะเวลาคือ 5ปี 10ปี และ 15ปี ซึ่งประกันชีวิตแบชั่วระยะเวลานี้ะให้ความคุ้มครองชีวิตสูงเบี้ยประกันจะต่ำ ประกันประเภทนี้เมื่อครบระยะเวลาของสัญญาที่ผู้เอาประกันเลือก หากผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ เบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมดจะไม่ได้รับคืนเลย เพราะเบี้ยประกันที่ถูกแสนถูกนั่นเอง

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (เหมาะกับใคร)

เหมาะกับคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เจ้าของกิจการ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักจะต้องการวงเงินคุ้มครองสูงแต่จ่ายเบี้ยประกันไม่ต้องสูงมาก ทำไว้เผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิด บุคคลอันเป็นที่รักจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ หรือ ธุรกิจจะได้ไม่สะดุด เป็นต้น

2.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

ประกันชีวิตแบบนี้เป็นอีกแบบนึงที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าต้องการจะจ่ายเบี้ยประกันกี่ปี มีตั้งแต่ 5ปี 10ปี 15ปี 20ปีและถึงอายุ90ปี ความคุ้มครองชีวิตถึงอายุ90 บ้างก็คุ้มครองชีวิตถึงอายุ95ก็มี เบี้ยประกันก็ไม่สูงมาก เป็นแบบที่เบี้ยประกันถูกรองจากแบบชั่วระยะเวลา และที่สำคัญเมื่อผู้เอาประกันอยู่ครบสัญญาก็จะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนตามทุนประกันชีวิตที่ได้ทำไว้

ประกันชีวิตตลอดชีพ (เหมาะกับใคร)

เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองยาว จ่ายเบี้ยประกันไม่สูงมาก ที่สำคัญมีความยืดหยุ่นสูงกว่าแบบแรก และอยู่ครบสัญญาได้รับเงินทุนประกันคืน

3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ประกันชีวิตประเภทนี้เบี้ยประกันค่อนข้างสูงกว่า 2 แบบแรก มีระยะเวลาให้เลือกจ่ายหลากหลาย เช่น 9ปี 12ปี 15ปี 25ปี และระยะเวลาในการรับเงินคืนเมื่อครบสัญญาก็มีตั้งแต่ 12ปี 18ปี 24ปี และ 30ปี เป็นต้น ซึ่งประกันแบบนี้มีสภาพคล่องสูงกว่าประกันรูปแบบอื่นที่กล่าวมาแล้ว

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (เหมาะกับใคร)

เหมาะกับผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองและเก็บออมไปด้วย บางแบบระหว่างสัญญามีเงินคืนกลับมาทุกปีและได้รับเงินคืนกลับมาเมื่อครบสัญญาอีกด้วย

4.ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ประกันชีวิตแบบนี้เป็นแบบที่เน้นรับบำนาญเมื่อส่งครบระยะเวลาในการส่ง มีตั้งแต่ 7ปี ส่งถึงอายุ 55ปี ส่งถึงอายุ60ปี และส่งถึงอายุ 65ปี ส่วนการรับบำนาญก็รับตั้งแต่เมื่อส่งครบจนถึงอายุ 85ปี เบี้ยประกันก็จะก่อนข้างสูงกว่าประกันข้างต้น เนื่องจากมีเงินบำนาญคืนรายปียาวนานหลายปี

ประกันชีวิตแบบบำนาญ (เหมาะกับใคร)

ประกันแบบนี้เหมาะกับผู้ที่วางแผนเกษียณ เมื่อตนเกษียณแล้วจะมีเงินบำนาญให้ทุกๆปี ขณะเดียวกันก็เหมาะกับคนที่มีฐานภาษีที่สูงที่ต้องการนำมาลดหย่อนนอกเหนือจากกลุ่มRMF และ SSF นอกจากนี้ก็ยังมีความคุ้มครองระหว่างที่เก็บออมไปด้วย

ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Link)

ประกันชีวิตรูปแบบพิเศษนี้จะแบ่งประกันที่ต้องจ่ายออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ

1.ทุนประกันชีวิต

2.ค่าธรรมเนียม

3.การลงทุน

โดยในส่วนของUnit Link ก็มีระยะเวลาในการชำระที่หลากหลาย 1ปี 5ปี 9ปี หรือ ตลอดชีวิต ในส่วนของ Unit Link นี้จะมีกองทุนมากมายกว่า 20 กอง จากหลากหลาย บลจ. ที่บริษัทประกันคัดสรรมาให้เราเลือก ซึ่งทำให้ประกันรูปแบบพิเศษนี้อาจจะขาดทุน หรือ ได้กำไร จากกองทุนที่เราเลือกก็ได้

สำหรับ Unit Link นี้เมื่อผู้เอาประกันจากไป ก็จะมีเงินออกมา 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จากประกันชีวิตและส่วนที่ 2 จากมูลค่าการขายหน่วยลงทุนที่เหลือคืนซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดีแล้วแเบบประกัน Unit Link นี้จะค่อนข้างยืดหยุ่นกว่าแบบประกันอื่นๆ ตรงที่ว่าผู้เอาประกันสามารถเลือกได้ว่าจะส่งกี่ปี และหากปีใดไม่สะดวกในการส่งเนื่องจากปัญหาอะไรก็ตาม ผู้เอาประกันก็สามารถทำได้โดยที่ไม่เสียดอกเบี้ยจากการหยุดชำระในปีนั้นๆ อีกด้วย นอกจากนี้แล้วการเปลี่ยนกอง(switching ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่หากไปซื้อจากกองทุนทุกครั้งในการ switching จะมีค่าใช้จ่ายแล้วแต่กองนั้นๆเรียกเก็บ

แบบประกันดวบหน่วยลงทุน(Unit Link) (เหมาะกับใคร)

แบบนี้เมื่อพิจารณาให้ดี ก็เหมาะกับผู้เอาประกันที่ต้องการความคุ้มครองมาก โดยสามารถเลือกความคุ้มครองได้เองในวงเงินที่ตนทำไว้ ยิ่งอายุน้อยวงเงินความคุ้มครองสามารถเลือกได้เป็น 100เท่าเลย โดยที่เมื่อเทียบกับแบบประกันอื่นๆถือว่าแบบประกันนี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่ชอบลุ้นคือ

ได้ความคุ้มครองชีวิตด้วยเละได้เลือกลงทุนกับกองทุนที่ตนเองต้องการด้วย

ดังนั้นทุกแผนประกันที่กล่าวมาเบื้องต้นสามารถนำไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้นเพียงแต่ในส่วนของประกันชีวิตแบบควบหน่วยลงทุนนั้น สิทธิในการลดหย่อนจะใช้ได้เพียง

“ค่าธรรมเนียมเท่านั้น”

สรุป ประกันชีวิตใช้สิทธิได้รวมสูงสุด 300,000บาท ส่วนลูกค้า(ผู้เอาประกัน)สนใจผลิตภัณฑ์ใด ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างจะหลากหลาย ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะกับแผนการดำเนินชีวิต และแผนทางการเงินของตน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *