“วิธีการให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง”

1.มองคนป่วยเป็นเพื่อนร่วมทุกข์

ไม่มองว่าเขาเป็นภาระ ให้ความใส่ใจพร้อมที่จะรับฟังเขาด้วยความเข้าใจถึงทุกข์ที่เขากำลังประสบ ในบทแผ่เมตตากล่าวไว้ว่า “สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ”

2.ถ้าหากผู้ป่วยสนใจทางธรรม

หาธรรมะที่เป็นอาหารทางจิตให้ผู้ป่วยฟังจะช่วยให้จิตสงบลงเมื่อจิตสงบลง กายก็ไม่กระสับกระส่าย ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็จะลดลง

3.ไม่ควรตัดสินทางเลือกของเขา

“ถ้าเป็นฉันจะทำแบบนี้ ” หรือ

“ทำไมไม่รักษาแบบนี้” หรือ

“ทำไมไม่ไปหาหมอคนนี้”

การพูดลักษณะเช่นนี้เป็นการสร้างแรงกดคันให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเรากำลังไปมองเขาว่า การตัดสินใจของเขาไม่ถูกต้อง เราควรรับฟังเขาอย่างตั้งใจ และทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการจะบอก ความรู้สึกที่เขาต้องการจะสื่อ และเลือกใช้คำถามปลายเปีดเพื่อแสดงถึงความสนใจและใส่ใจ เช่น คุณหมอที่รักษาให้คำแนะนำในเรื่องนี้อย่างไร เป็นต้น

4.อย่าร้องไห้ต่อหน้าผู้ป่วย

หน้าที่ของเราคือ การรับฟังอาการป่วยของเขาที่เขาเล่าให้ฟัง ให้กำลังใจ ชี้ให้คนป่วยเห็นว่า สิ่งที่เขาประสบอยู่มีหนทางในการรักษา แต่อย่าไปร้องไห้เนื่องจากสงสารผู้ป่วย อย่าทำเช่นนั้นเพราะสถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไป

5.อย่าคิดไปเองว่าคนป่วยต้องการความช่วยเหลือ

การที่เราจะเข้าไปช่วยอะไร เราควรจะถามคนป้วยก่อน เพราะ บางครั้งเรื่องเล็กๆเช่น การทำความสะอาดบ้าน การรดน้ำต้นไม้ การ ให้อาหารสัตว์ ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ แต่พอเราเข้าไปช่วย ก็เหมือนไปตอกย้ำอาการป่วยของเขาว่าเขาป่วยมาก เป็นต้น

6.อย่าเปรียบเทียบปัญหาของเขากับคนอื่น

เราต้องระลึกไว้เสมอว่า อาการของโรค&อาการป่วย แต่ละคนแตกต่างกัน เช่น หากเรากล่าวว่า “คนที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ยังหายเลย” การกล่าวเช่นนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะรู้สึกกังวลใจเพราะมีคนอื่นที่มีปัญหามากกว่า เป็นต้น

ดังนั้นดีกว่าไหม เปีดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูด โดยมีเราเป็นผู้รับฟังที่ดี

7.จำไว้ว่า “เราไม่ใช่หมอ”

สารพัดคำแนะนำ&ข้อมูลที่หลากหลายจากในสื่อonline ห ากเราไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง หรือ ได้ข้อมูลจากแหล่งที่มาที่ถูกต้องแล้วเราเป็นผู้ฟังดีกว่า อย่าไปแนะนำสิ่งที่เราไม่รู้จริง ผู้ป่วยอาจจะตัดสินใจผิดพลาดเพราะเราเป็นต้นเหตุก็ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *